วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีชิปเลเซอร์โอนข้อมูล 50Gbps

รายงานข่าวล่าสุดที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการเทคโนโลยีโพรเซสเซอร์อีกครั้ง เมื่อนักวิจัยอิเทลได้พัฒนาต้นแบบชิปซิลิกอนที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานด้วยแสง ซึ่งช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 50 กิกะบิทต่อวินาที
ในขณะที่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันจะเชื่อมโยงการทำงานด้วยสายทองแดง หรือลายวงจรที่เห็นบนเมนบอร์ด อย่างไรก็ตาม การใช้โลหะต่างๆ อย่างเช่น ทองแดง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการลดทอนสัญญาณ เมื่อต้องถ่ายโอนข้อมูลในระยะที่ห่างออกไป ข้อจำกัดนี้ส่งผลต่อกระทบในการออกแบบคอมพิวเตอร์ด้วย เพราะทำให้โพรเซสเซอร์ หน่วยความจำ ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ต้องอยู่ห่างกันได้ไม่กี่นิ้ว
แต่ล่าสุด Intel ได้พัฒนาชิปที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลด้วยแสงทำให้อุตสาหกรรมสามารถแทนที่การเชื่อมต่อแบบเดิมๆ ด้วยเส้นใยนำแสงที่มีความบางเบา อีกทั้งยังสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ที่ความเร็วหลายกิกะบิทต่อวินาทีในระยะทางไกลๆ ได้อีกด้วย ซึ่ง Justin Rattner ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทล กล่าวว่า เทคโนโลยี silicon photonics จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ได้มากมาย "ตัวอย่างเช่น ที่อัตราเร็วในการถ่ายโอนระดับนี้ สามารถจินตนาการได้ถึงจอแสดงผล 3D ที่มีขนาดเท่าผนังห้องสำหรับความบันเทิงภายในบ้าน และการประชุมผ่านวิดีโอที่ความละเอียดสูงมากจนราวกับว่า ดารา หรือสมาชิกในครอบครัวปรากฎตัวอยู่ในห้องของคุณเลยที




"และศูนย์ข้อมูล หรือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในอนาคตอาจจะกระจายองค์ประกอบของการทำงานไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร หรือแม้แต่ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย โดยสามารถสื่อสารระหว่างกันด้วยความเร็วสูง ซึ่งตรงข้ามกับทองแดงที่หนักกว่ามาก แถมยังมีข้อจำกัดในคุณสมบัติการทำงาน และการสื่อสารข้อมูลอีกด้วย" Rattner อธิบายด้วยว่า ศูนย์ข้อมูลทีใช้เทคโนโลยีชิปซิลิกอนที่สื่อสารด้วยแสงจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ของศูนย์ รวมถึงบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการเสิร์ช หรือผู้ให้บริการ Cloud Computing จะได้รับประสิทธิภาพของระบบการทำงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประหยัดต้นทุนลงได้มากทั้งในเรื่องของสถานที่ และพลังงาน




ต้นแบบลิงค์แสง (Photonics Link) ที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็ว 50Gbps จะประกอบด้วยอุปกรณ์ชิปซิลิกอนที่ทำหน้่าที่เป็นภาครับ และส่งข้อมูล โดยชิปดังกล่าวจะถูกต่อเข้ากับวงจรเลเซอร์ 4 ชุดที่จะยิงลำแสงผ่านเข้าไปในวงจรรวมสัญญาณแสง (optical modulator) เพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่ความเร็ว 12.5Gbps จากนั้นลำแสงเลเซอร์ทั้ง 4 จะถูกรวมให้กลายเป็นสัญญาณเอาท์พุทเข้าไปในไยแก้วนำแสงเส้นเดียวสำหรับข้อมูลทั้งหมดที่ 50Gbps (4 x 12.5Gbps)


ที่ปลายสายของการเชื่อมโยง ชิปภาครับจะแยกลำแสงทั้ง 4 ออกจากัน และส่งผ่านพวกมันเข้าไปในตัวตรวจจับแสง ซึ่งจะแปลงกลับเป็นข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง ซึ่งนักวิจัยของ Intel จะสามารถเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้อีกด้วยการเพิ่มความเร็วของวงจรรวมสัญญาณ (optical modulator) และจำนวนของลำแสงเลเซอร์ในชิป นั่นหมายความว่า ในอนาคตทางบริษัทจะสามารถพัฒนาความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลด้วยแสงในระดับเทอราบิทต่อวินาทีก็ได้ ซึ่งเทียบได้กับการถ่ายโอนคอนเท็นต์ทั้งหมดในโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์จากต้นทางไปยังปลายทางภายใน 1 วินาทีเท่านั้น



















โน้ตบุ๊คพันธุ์ใหม่ 2จอ สัมผัสมาแรงสุดๆ

แหล่งข่าวอ้างว่า สำหรับ Libretto W100 ทางโตชิบาได้ผลิตออกมาในจำนวนจำกัด โดยมันขาดตลาดในญี่ปุ่นหลังจากวางขายได้เพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น ในส่วนของสเป็กกาทำงาน Libretto W100 ประกอบด้วย โพรเซสเซอร์ Pentium U5400 ระบบปฏิบัติการที่ใช้เป็น Windows 7 Home Premium (32 บิต) ชิปเซ็ต HD Graphic ของ Intel หน่วยความจำ DDR3 2GB และ SSD 62GB แถมยังมีช่องใส่การ์ดหน่วยความจำ สนับสนุนการเชื่อมต่อไร้สาย WiFi 802.11b/g/n, Bluetooth 2.1+EDR และเว็บแคม ทำงานด้วยแบตเตอรี่ 8 เซล ความโดดเด่นของ Libretto W100 ก็คือ หน้าจอคู่แฝดขนาด 7 นิ้ว ซึ่งเป็น WSVGA LCD สามารถทำงานร่วมกันได้ราวกับเนื้อเดียว คุณสามารถใช้งานแบบโน้ตบุ๊คโดยใช้คีย์บอร์ดสเมือนบนหน้าจอ (Onscreen virtual keyboard) หรือกางหน้าจอทั้งสองออก 180 องศา เพื่อใช้งานแบบแท็บเล็ตได้อีกด้วย...ว้าว!!!

ซองใส่ iPhone เพิ่มคีย์บอร์ด QWERTY




สำหรับปลอกใส่ที่เห็นในรูปข้างล่างนี้เป็นการออกแบบด้วยซอฟต์แวร์ CAD บนคอมพิวเตอร์ของ Altamash Jiwani โดยวัสดุที่ใช้ทำจะประกอบด้วย polycarbonate ที่ใช้ทำในส่วนของปลอกกันกระแทก และชุดคีย์บอร์ด QWERTY แบบเลื่อน ซึ่งดูจากรูปมันสามารถเลื่อนเข้ามาจนสุดขอบจอด้านล่างของ iPhone 4


















นอกจากคอนเน็คเตอร์ด้านในของคีย์บอร์ด QWERTY จะต่อเข้ากับสล็อตของ iPhone 4 พอดีแล้ว ด้านล่างของคีย์บอร์ดก็ยังสามารถต่อพ่วงสายสัญญาณ เพื่อซิงค์กับคอมพิวเตอร์ หรือชาร์จแบตฯ ได้อีกด้วย นี่ถ้าผลิตออกมาจริง คงมีลูกค้าสนใจมิใช่น้อย ว่าแต่พี่แกจะคิดดีไซน์เวอร์ชันบน iPad ด้วยไหมนะ?














เมาส์ดีไซน์แปลกๆ จาก ไมโครซอฟท์

Arc Touch Mouse ที่ปรากฎบนเว็บไซต์ของเยอรมันตัวนี้มีดีไซน์ และการใช้งานที่่น่าอัศจรรย์จริงๆ โดยเวลาใช้งานด้านหลังตัวเมาส์จะโค้งขึ้นมา เพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่ในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถกดหลังที่งองุ้มของเมาส์ให้แบนราบเรียบไปกับพื้น เพื่อให้สะดวกในการพกพาได้อีกด้วย นอกจากนี้ส่วนของ"ลูกกลิ้ง" (wheel) ที่อยู่ตรงกลางปุ่มเมาส์ทั้งสองยังได้รับการออกแบบให้ทำงานในระบบสัมผัสแทนอีกต่างหาก เมาส์รุ่นนี้คุยว่า มันสามารถใช้งานบนพื้นผิวส่วนใหญ่ได้





Arc Touch Mouse จะมาพร้อมกับภาครับส่งสัญญาณไร้สาย 2.4GHz ขนาดเล็กจิ๋วทีใช้ต่อเข้ากับพอร์ต USB ของโน้ตบุ๊ค สนนราคาที่เปิดเผยออกมาจะอยู่ที่ 69.99 ยูโร (ประมาณ 2,900 บาท) หรือเท่าๆ กับ Magic Mouse และ Magic Trackpad ที่ขายในเยอรมัน ดูน่าใช้ดีเหมือนกัน ก็หวังว่ามันจะไม่ใช่แค่ข่าวลือ หรือภาพที่ทำขึ้นมาอำกันเล่นๆ หรอกนะครับ







Nokia N9 กับ iPhone 4



ภาพถ่าย Nokia N9 ปรากฎในเว็บไซต์ Baidu เสิร์ชเอ็นจิ้นยักษ์ใหญ่ของจีน โดยมีทั้งภาพที่เผยให้รายละเอียดภายนอก และภายในเครื่องกันเลยทีเดียว ตัวถังเครื่องเป็นโลหะหล่อทั้งชิ้นเมื่อผสานกับชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกด้านหลังทำให้มันดูเป็นสมาร์ทโฟนที่เนี้ยบมากๆ คีย์บอร์ด QWERTY สีดำที่สามารถเลื่อนออกมาจากด้านหลัง ยิ่งทำให้มันดูคล้ายแม็คบุ๊คมากทีเดียว




ความจริงเมื่อสองเดือนก่อนมีคลิปวิดีโอของ Nokia N9 หลุดออกมา (update: คลิปดังกล่าวถูกลบออกจาก YouTube แล้ว) แต่ก็มีคำถามตามมามากมายว่า มันใช่ของจริง หรือไม่? อย่างไรก็ตาม ภาพที่หลุดออกมาใหม่พิสูจน์แล้วว่า มันเป็นของจริง ไม่ใช่กราฟิกหลอกๆ เท่านั้น แหล่งข่าวอ้างว่า Nokia จะวางตลาด N9 ก่อนสิ้นปีนี้ แต่ประเด็นคือมันจะแข่งกันเองกับ N8 หรือเปล่า? ยังไงคงต้องรอดูความชัดเจนในงาน Nokia World ที่จะจัดขึ้นในปีหน้าว่า Nokia จะเปิดตัว N9 ในงานนี้ หรือไม่? ตอนนี้ดูภาพหลุดชัดๆ ยั่วน้ำลายกันไปก่อนก็แล้วกันนะครับ



วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Nokia C1-00 2ซิม

เปิดตัวมือถือตระกูล C series เจาะตลาดล่าง ชูราคาประหยัดควบความสะดวกในการสลับซิม ไม่ต้องถอดเข้า-ออก แสตนด์บายเครื่องได้นานสุดถึง 6 สัปดาห์…

นายชูมิท คาพูร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ล่าสุด บริษัทฯ ประกาศเปิดตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ C series รุ่นล่าสุด Nokia C1-00 รุ่นแรกของโนเกียในระบบ 2 ซิม เพียงกดปุ่มที่กำหนดไว้ก็สามารถสลับซิมได้อย่างง่ายดาย มีความยืดหยุ่นในการเดินทางระหว่างประเทศ และสามารถใช้เครื่องโทรศัพท์ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวได้โดยไม่ต้องถอดซิม โดย Nokia C1-00 มีระยะแบตเตอรี่แสตนด์บายนานถึง 6 สัปดาห์ ซึ่งถือว่านานที่สุดของโนเกีย

นอกจากนี้ Nokia C1-00 ยังมีไฟฉาย หน้าจอสีสดใส และวิทยุเอฟเอ็ม รองรับการสื่อสารและความบันเทิง โดย Nokia C1-00 มีวางจำหน่ายในราคา 1,270 บาท ผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โนเกียแคร์ไลน์ โทร.02-255-2111 หรือ www.nokia.co.th







ซีดีรอม
ซีดีรอมคืออะไร
โดยพื้นฐานแล้วซีดีรอมเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการพิมพ์ มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดกระทัดรัด ถ้าผลิตเป็นจำนวนมากราคาค่าใช้จ่ายในการลงทุนจะไม่สูงนัก ซึ่งช่วยประหยัดทรัพยากรได้มาก ข้อมูลที่บันทึกไว้ในซีดีรอมไม่เสื่อมสูญ เก็บไว้ได้คงทนถาวรและไม่เกิดการผิดพลาดใดๆได้ง่ายๆ เนื้อหาบนแผ่นซีดีรอมมีลักษณะเป็นดิจิตอล โดยปกติจะมีดัชนีและอ้างอิงถึงกันได้โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ และใช้ร่วมกันในโครงข่ายเฉพาะบริเวณหรือระบบแลน ( Lan ซึ่งย่อมาจากคำว่า Local Area Network ) และโครงข่ายระบบแวน ( ซึ่งย่อมาจากคำว่า Wide Area Network ) ได้การนำซีดีรอมไปเปรียบเทียบกับวิทีการอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตและเผยแพร่ข้อมูลจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าซีดีรอมเป็นอุปกรสำหรับการพิมพ์ที่ดีที่สุด
สมบัติทางกายภาพของแผ่นซีดีรอม
แผ่นซีดีรอมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร (4 ¾ ) มีความหนามากกว่า 1 มิลลิเมตรเล็กน้อย และมีน้ำหนักประมาณ ½ ออนซ์ วัสดุที่ใช้ทำแผ่นซีดีรอมทำจากแผ่นโพลีคาร์บอเนต ( polycarbonate ) ใสประกบกับแผ่นอะลูมิเนียมบาง ๆ และผนึกด้วยแล็กเกอร์รอบนอก แผ่นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลทั้งประเภทตัวหนังสือ ภาพถ่าย กราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว ได้เป็นจำนวนมากถึง 700เมกะไบต์ หรือเก็บเสียงที่มีคุณภาพดีได้ถึง 80 นาที ข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมจะถูกเก็บในลักษณะที่เรียกว่า ”หลุม” ที่มีขนาดเล็กมาก เรียงแถวเดี่ยวในลักษณะบันไดเวียน ( single spiral track ) แต่ละหลุมมีขนาดกว้าง ½ ไมครอน (micron) บนซีดีรอมแผ่นหนึ่งจะมีหลุมดังกล่าวนี้อยู่ประมาณ 2.8 พันล้านหลุม ร่องแบบบันไดเวียนจะช่วยทำให้เกิดการหมุนมากกว่า 2 หมื่นรอบเป็นระยะทางกว่า 3 ไมล์